โครงการพัฒนาครูประจำการโดยใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

2,671 Views

หลักการและเหตุผล

การปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน (ไทยแลนด์ 4.0) สถานศึกษาทุกระดับต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียน (ผู้เรียน 4.0) ให้สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ การที่ผู้เรียนจะสร้างนวัตกรรมได้นั้นจะต้องมีการปรับกระบวนการเรียนการสอนในสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 แต่ยังมีครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงมีโครงการพัฒนาครูประจำการที่สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพครู เป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้สอนให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในเขตพื้นที่จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง ให้มีความสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

รายละเอียดโครงการ

1. หลักสูตรการอบรม มีทั้งสิ้น 14 หลักสูตร คือ

หลักสูตรที่ 1 การใช้โปรแกรมจัดการเอกสารเพื่องานการศึกษา

หลักสูตรที่ 2 การใช้โปรแกรมตารางคำนวณเพื่องานการศึกษา

หลักสูตรที่ 3 Google for Education : Drive และ Docs เพื่อจัดการเอกสาร

หลักสูตรที่ 4 Google for Education : Forms และ Sheets เพื่องานสำรวจข้อมูล

หลักสูตรที่ 5 Google for Education : Site เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์ในสถานศึกษา

หลักสูตรที่ 6 Google for Education : Classroom เพื่อจัดการเรียนการสอน

หลักสูตรที่ 7 การสร้างแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยไม่เขียนโปรแกรม

หลักสูตรที่ 8 การผลิตสื่อดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (AUGMENTED REALITY : AR)

หลักสูตรที่ 9 การสร้าง YouTube Channel และ QR Code เพื่อการศึกษา

หลักสูตรที่ 10 การออกแบบโมเดลสามมิติสำหรับ STEAM Education

หลักสูตรที่ 11 การจัดการเรียนการสอนแบบ Interactive Lecture

หลักสูตรที่ 12 การพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้สามมิติ (Interactive notebook) แบบกระดาษ

หลักสูตรที่ 13 การใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีทัศน์สร้างบทเรียนทางการศึกษา

หลักสูตรที่ 14 การใช้แอปพลิเคชันบนคลาวด์เพื่อการนำเสนอแบบแอนิเมชั่น

2. การอบรมจัดขึ้นทั้งหมด 7 วัน คือ

วันเสาร์ ที่ 20 มกราคม 2561

วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม 2561

วันเสาร์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561

วันเสาร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561

วันเสาร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561

วันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

วันเสาร์ ที่ 3 มีนาคม 2561

เงื่อนไขการรับสมัคร

1.ผู้สมัครเข้ารับการอบรม 1 ท่านสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตร แต่ในแต่ละสัปดาห์สามารถสมัครได้เพียง 1 หลักสูตรต่อสัปดาห์เท่านั้น

2.ก่อนเข้ารับการอบรม 1 สัปดาห์ ผู้สมัครจะได้รับอีเมล์ตอบกลับยืนยันการอบรม

3.หากผู้เข้ารับการอบรมขาดการอบรมโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าก่อนการอบรม 1 สัปดาห์ ผู้เข้ารับการอบรมจะถูกตัดสิทธิ์การอบรมในหลักสูตรที่เหลือทั้งหมด

4.การยืนยันข้อมูลการอบรม จะยืนยันข้อมูลผ่านทางหน้าเว็บไซต์เท่านั้น

5.ในกรณีที่มีผู้แจ้งยกเลิกการอบรมจะเรียกผู้สมัครเข้ารับการอบรมอันดับสำรองเข้ารับการอบรมแทน

6.ในหนึ่งห้องอบรมให้สิทธิการสมัครเข้ารับการอบรมสูงสุด 5 คนต่อหน่วยงานเท่านั้น

7.ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรพร้อมกันในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ผ่านอีเมล์ที่ใช้ในการสมัครเข้ารับการอบรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่  http://arit.lru.ac.th/ARITTraining/index.html

Share to...

suriya lunchanta

ว่าที่ รต.สุริยา ลุนจันทา นักวิชาการคอมพิวเตอร์